วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ชุดคำนั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาของคอมพิวเตอร์ ใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ กล่าวคือ ซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่ผู้ใช้มองไม่เห็นและสัมผัสไม่ได้ แต่สามารถรับรู้การทำงานได้ ต่างจากฮาร์ดแวร์ (Hardware) อ่านเพิ่มเติม
 

การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน
โดยปกติแล้วเราสามารถหาซอฟต์แวร์มาใช้งานได้หลาย ๆ วิธี ซึ่งอาจจะอยู่ใน
รูปแบบของการสั่งซื้อโดยตรงกับบริษัทผู้ผลิตหรือใช้ตัวอย่างทดลองจากการดาวน์โหลดบน
อินเทอร์เน็ตได้จึงพอสรุปวิธีการเลือกซอฟต์แวร์มาใช้งานได้ดังนี้
แบบสำเร็จรูป ( Packaged หรือ Ready – made Software )
แบบว่าจ้างทำ ( Customized หรือ Tailor – made Software )
แบบทดลองใช้ ( Shareware )
แบบใช้งานฟรี ( Freeware )
แบบโอเพ่นซอร์ส ( Public – Domain/Open Source )

แบบสำเร็จรูป ( Packaged หรือ Ready – made Software ) วิธีการนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะเข้า
ไปเดินหาซื้อได้กับตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง
ซึ่งมักจะมีการเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสารคู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว ผู้ใช้สามารถที่จะหยิบ
เลือกซื้อได้เมื่อพอใจในตัวสินค้าซอฟต์แวร์นั้น ๆ และนำไปติดตั้งเพื่อใช้งานได้โดยทันที
กรณีที่ไม่สามารถเลือกซื้อผ่านร้านตัวแทนจำหน่ายได้ อาจเข้าไปในเว็บไซต์ของบริษัท
ผู้ผลิตซอฟต์แวร์นั้น ๆ แล้วกรอกข้อมูลรายการชำระเงินผ่านแบบฟอร์มบนเว็บ
 เมื่อรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายชำระเงินของผู้ซื้อได้รับการอนุมัติก็สามารถนำเอา
ซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาใช้ได้ทันที

ซอฟต์แวร์ประยุกต์
 
 
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร
 
ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
          2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
          2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์
 

ซอฟต์แวร์ระบบ
คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ (operating system) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลีนุกซ์ เป็นต้น
       คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้หากปราศจากระบบปฏิบัติการ ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ เราสามารถสั่งงานผ่านระบบปฏิบัติการให้คอมพิวเตอร์คำนวณ ให้แสดงภาพ ให้พิมพ์ข้อความหรือผลลัพธ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์ นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์ยังทำหน้าที่ประสานงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ กับตัวเครื่อง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ไม่ว่าประเภทใดล้วนแต่ต้องทำงานบนซอฟต์แวร์ระบบทั้งสิ้น
        
 
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์และการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน

1. การนำเสนอข้อมูล คือ การสื่อสารข้อมูลหรือการส่งข้อมูลจากผู้นำเสนอข้อมูลไปสู่ผู้รับข้อมูลด้วยวิธีการหรือสื่อต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตรงตามความต้องการของผู้นำเสนอข้อมูล
2. การนำเสนอข้อมูลที่ดีควรเลือกใช้รูปแบบของข้อมูลและสื่อหรืออุปกรณ์ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลให้เหมาะสม
3. การนำเสนองานเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้ผู้อื่นรู้ข้อมูลเกี่ยวกับงานหรือกระบวนการทำงานนั้น ๆ
4. การนำเสนองานที่ดีควรเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับลักษณะของงาน หรือลักษณะของข้อมูล
5. Microsoft PowerPoint คือ โปรแกรมช่วยสร้างงานนำเสนอ คำถามสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
– การนำเสนอข้อมูลคืออะไร
– การนำเสนอข้อมูลที่ดีควรเลือกนำเสนอข้อมูลในรูปแบบใด
– การนำเสนองานคืออะไร
– การนำเสนองานที่ดีควรเลือกนำเสนอรูปแบบใด
– Microsoft PowerPoint เกี่ยวข้องกับการนำเสนองานอย่างไร
ความรู้ของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะรู้ว่า…
1. คำที่ควรรู้ ได้แก่ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
พาโนรามา จุดเชื่อมโยง อัปโหลด
2. การนำเสนอข้อมูลที่ดีควรมีข้อมูลในรูปแบบตัวหนังสือหรือตัวอักษร รูปภาพหรือภาพนิ่ง แผนภูมิ แผนผัง กราฟ เสียง และภาพเคลื่อนไหวประกอบกันเพื่อช่วยสร้างความน่าสนใจและส่งเสริมความเข้าใจและการเรียนรู้ของผู้รับข้อมูล
3. สื่อหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ช่วยในการนำเสนอข้อมูลให้มีประสิทธิภาพและน่าสนใจยิ่งขึ้น
4. การนำเสนองานสามารถกระทำได้หลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบจะมีลักษณะจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกัน ผู้นำเสนองานจึงควรเลือกให้เหมาะสมกับงานและความต้องการของตนเอง
5. Microsoft PowerPoint สามารถนำเสนองานได้ทั้งรูปแบบของเอกสารสิ่งพิมพ์ มัลติมีเดีย และเว็บไซต์ ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน นักเรียนจะสามารถ…
1. อธิบายและวิเคราะห์รูปแบบของข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลได้
2. เลือกรูปแบบของข้อมูลและรูปแบบของการนำเสนองานได้อย่างเหมาะสม
3. ยกตัวอย่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ได้
4. ค้นหาและปฏิบัติตามข้อมูลที่ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5. อธิบายวิธีการสร้างงานนำเสนอจาก Microsoft PowerPoint ได้
6. สร้างงานนำเสนอจาก Microsoft PowerPoint ได้